วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 17

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน  2556
        อาจารย์สรุปองค์ความรู้ในการสอนวิทยาศาสตร์  การจัดมุมประสบการณ์และให้นักศึกษาทุกคนส่งงานและจัดทำบล็อกให้เรียบร้อย



เพิ่มเติม


ประโยชน์จากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
พัฒนาการทางปัญญาเป็นความสามารถทางสมองในการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผล ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถแก้ปัญหาได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางปัญญา การพัฒนาทางสติปัญญา ไม่ใช่การเพิ่มระดับไอคิว แต่การพัฒนาทางสติปัญญาเน้นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาใน 2 ประการ คือ

1. ศักยภาพทางปัญญา คือ การสังเกต การคิด การแก้ปัญหา การปรับตัว และการใช้ภาษา
2. พุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่ใช้เป็นพื้นฐานของการขยายความรู้ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินเพื่อการพัฒนาการรู้การเข้าใจที่สูงขึ้น

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 17

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน  2556

           อาจารย์ให้กลุ่มต้มจืดมาสาธิตการสอน  ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา



วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 16

วันจันทร์ที่ 16  กันยายน  2556
          อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนการจัดประสบการณ์ การทำอาหาร พร้อมทั้งออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน  ดังนี้  1.ราดหน้า   2.แกงจืด   3.ไข่เจียวทรงเครื่อง  4.ไข่พะโล้    5.ข้าวผัดแสนอร่อย  6.ผัดผัก
กลุ่มดิฉันนำเสนอไข่เจียวทรงเครื่อง


วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 15 (ชดเชย)

วันอาทิตย์ที่  15  กันยายน  2556

         อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาส่งงานให้เรียบร้อย  โดยมีทั้งสื่อมุมและสื่อของเล่น  จากการที่ได้เห็นเพื่อนนำเสนองานทำให้ได้รับประโยชน์ เพื่อนำไปปรับใช้สร้างผลงานให้กับตนเองได้ในอนาคต

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่14

วันจันทร์ ที่9 กันยายน 2556



ไม่มีการจัดการเรียนการสอน

                  
                      เนื่องจาก อาจารย์ติดงานสัมนนาของคณะศึกษาศาสตร์ และอาจารย์ได้แจ้งล่วงหน้าแก่นักศึกษาแล้วว่า จะขอสอนชดเชย ในวันอาทิตย์ที่15 กันยายน เวลา08.30เป็นต้นไป

ครั้งที่13

วันจันทร์ ที่2 กันยายน 2556


           วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์ ซึ่ง อาจารย์ได้บอกเกณฑ์การตรวจชิ้นงานดังต่อไปนี้


-งานเรียบร้อย ประณีต
-สะท้อนวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
-เข้าใจได้ง่าย

                               
                                         กลุ่มของข้าพเจ้า ทำสื่อเข้ามุมคือ การทำสมุดวงจรของสัตว์ ซึ่งให้เด็กได้เรียนรู้การเจริญเติบโตของสัตว์ ที่เด็กๆรู้จักและอยู่ใกล้ๆตัวของเด็ก เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์คือเป็นธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่เด็กต้องศึกษาเรียนรู้







ครั้งที่12

วันจันทร์ ที่26 สิงหาคม 2556



                   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก อาจารย์ติดประชุมของคณะศึกษาศาสตร์

ครั้งที่11

วันจันทร์ ที่19 สิงหาคม 2556

                     วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอการทดทองวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียน ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้า นำเสนอ การทดลองเรื่อง "ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน"

ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการทดลองดังนี้

อุปกรณ์ 

1. แก้วน้ำ 2 ใบ
2. น้ำยาล้างจาน (ใช้ปริมาณเล็กน้อย)
3. ช้อน 1 คัน
4. กระดาษทิชชู่ (ตัดให้มีขนาดใหญกว่าคลิบเสียบกระดาษเล็กน้อย)
5. คลิบเสียบกระดาษ 2-3 ตัว



วิธีการทดลอง

                                             1.นำแก้วมาเติมน้ำจนเต็มพอดี


              2.นำคลิปเสียบกระดาษค่อยๆวางบนผิวน้ำ โดยใช้กระดาษทิชชู่รองก่อน รองประมาณ10วินาที กระดาษทิชชู่ค่อยๆจมลงสู่ก้นแก้ว สังเกตคลิปเสียบกระดาษจมลงไปกับเช่นเดียวกับกระดาษทิชชู่หรือไม่


                                
           
                                




             3.ใช้ช้อนตักน้ำยาล้างจาน  1  ใน  4 ช้อนชา หยดลงในแก้วน้ำที่มีคลิปเสียบกระดาษลอยอยู่ โดยหยดบริเวณใกล้ๆ คลิปเสียบกระดาษ แล้วสังเกตผลที่เกิดขึ้น



สรุปผลการทดลอง

                               จากผลการทดลองจะเห็นว่าเมื่อกระดาษทิชชู่จมลงก้นแก้วแล้ว คลิบเสียบกระดาษยังสามารถลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้ แต่ในการทดลองครั้งแรกหาก รีบวางคลิบพร้อมกระดาษทิชชู่รวดเร็วมากเกินไป คลิบอาจจมลงไปพร้อมกระดาษ ให้ทำการทดลองใหม่โดยค่อย ๆ วาง และหลังจากที่หยดน้ำยาล้างจานลงในแก้วน้ำที่มีคลิบลอยอยู่ คลิบจะจมทันที


จากทฤษฎี


                               โดยปกติแล้ว โมเลกุลของน้ำจะยึดเกาะกันแน่น เรียกว่า แรงตึงผิว การยึดเกาะกันแน่นของโมเลกุลของน้ำ ทำให้คลิบเสียบกระดาษสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แต่เมื่อเราหยดน้ำยาล้างจานลงไป คลิบเสียบกระดาษที่ลอยอยู่จะจมทันที เนื่องจาก น้ำยาล้างจานมีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว ทำให้แรงตึงผิวบริเวณผิวน้ำลดน้อยลง เพื่อให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ง่ายขึ้น เช่น การเกิดฟอง การทำให้เปียก และกระบวนการทำความสะอาดที่ดีขึ้น



                                      ได้รับความรู้เพิ่มเติม

อาจารย์แนะนำวิธีการนำเสนอ ว่าควรจะนำเสนอ พูดให้เด็กคิด คือวิธีการตั้งคำถามกับเด็กเพื่อที่ว่าจะให้เด็กได้ทบทวนประสบการณ์เดิมของเด็ก พอทบทวนประสบการณ์เดิมของเด็กเสร็จแล้ว ก็ลงมือปฎิบัติในขณะที่ตั้งคำถาม เพื่อเป็นการ กระตุ้นให้เด็กได้คิด และสามารถขออาสาสมัครเป็นเด็กๆออกมาช่วยได้

-ขั้นตอนแรกถามเด็กๆว่าอุปกรณ์มีอะไรบ้าง
-ต่อมาเริ่มการทดลอง
-ถามลักษณะที่เห็นที่เกิดขึ้น
-ตั้งสมมุติฐาน
-สังเกตสิ่งที่กำลังทดลองว่าเป็นอย่างไร

ครั้งที่10

วันจันทร์ ที่12 สิงหาคม 2556




     ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุด "วันแม่แห่งชาติ"

ครั้งที่9

วันจันทร์ ที่ 5 สิงหาคม 2556



   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค

ครั้งที่8

วันจันทร์ ที่29 กรกฎาคม 2556




   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค

ครั้งที่7

วันอาทิตย์ ที่28 กรกฎาคม 2556

เรียนชดเชย

                               วันนี้อาจารย์ได้เชิญบุคลากรจากข้างนอกมาให้ความรู้แก่นักศึกษาในเรื่องของการประดิษฐ์สื่อ การเรียนการสอน และเทคนิคต่างๆที่จะสามารถนำไปใช้กับเด็กๆได้ ซึ่งจากการมาเรียนรู้ในวันนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความคิดใหม่ๆเพิ่มขึ้นอีก และสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต


 
การออกไปนำเสนอชิ้นผลงานที่ได้ทำของแต่ละกลุ่ม
 
 
ผลงานของกลุ่ม
 

ครั้งที่6

วันจันทร์ ที่22 กรกฎาคม 2556




          ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดวันเข้าพรรษา

ครั้งที่5

วันจันทร์ ที่ 15 กรกฎาคม 2556


              
                    ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากพาพ่อไปโรงพยาบาล

              
           ถามงานจากเพื่อน เพื่อนบอกว่าอาจารย์ให้นำเสนอชิ้นงานต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว  แล้วก็อาจารย์สั่งงานเพิ่มอีกชิ้นนึง คือ ให้คิดของเล่นเข้ามุมมา1ชิ้น

ครั้งที่4

วันจันทร์ ที่ 8 กรกฏาคม 2556


                
                  ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากพาพ่อไปโรงพยาบาล

                
                 ถามงานจากเพื่อน เพื่อนบอกว่า อาจารย์ ทำการทดลองวิทยาศาสตร์เรื่องน้ำให้นักศึกษาดู แล้วอาจารย์ก็เปิดวีดีโอเรื่อง อากาศให้ดู แล้วอาจารย์ก็ให้ออกไปนำเสนอแผนงานสิ่งประดิษฐ์หน้าชั้นเรียนถ้าใครที่นำเสนอผ่านแล้วให้ไปประดิษฐ์ แต่ถ้าใครที่นำเสนอแล้วไม่ผ่านก็ให้กลับไปคิดมาใหม่

ครั้งที่3


วันจันทร์ ที่1 กรกฎาคม 2556

          
              สัปดาห์นี้ อาจารย์เริ่มด้วยการทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว








                                 การบ้าน

ให้นักศึกษาใช้เศษวัสดุทำของเล่นสำหรับเด็ก แต่ยังไม่ต้องทำ ให้เขียนแผนงานการทำให้อาจารย์ดูก่อน(งานเดี่ยว) ต้องมีคอนเซ็ป สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้


แล้วหลังจากนั้น อาจารย์ให้ดูวีดีโอ เกี่ยวกับเรื่องความลับของแสง แล้วให้สรุปความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอ ลงในกระดาษแล้วส่ง



ครั้งที่2

วันจันทร์ ที่24 มิถุนายน 2556

                   

                      ข้าพเจ้าไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากไม่สบาย 
 

               ข้าพเจ้าถามเพื่อนว่าอาจารย์สอนอะไรบ้างเพื่อนก็บอกว่าอาจารย์แจกใบงานแล้วให้สรุปเป็นความคิดของตัวเอง แล้วนำความคิดของตัวเองไปรวมกันให้เป็นความคิดของกลุ่มแล้วออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน และหลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ดูวีดีโอ เกี่ยวกับเรื่องน้ำ แล้วก็ให้ตัวแทนนักศึกษารวมลิ้งบล็อกเพื่อที่จะไปลิ้งกับอาจารย์